ถ้าเรานำน้ำมา 1 ส่วน และนำน้ำยาอิเลคทรอไลด์ 1 ส่วน มาชั่ง น.น. ดูจะเห็นว่าน้ำยาอิเลคทรอไลด์หนักกว่าน้ำ ปกติน้ำจะมี ถ.พ. เท่ากับ 1 ส่วน น้ำยาอิเลคทรอไลด์ ซึ่งมีกรดกำมะถัน (H2So4) กับน้ำ (H2O) เมื่ออัดไฟเต็มในแบตเตอรี่ จะมี ถ.พ. 1.250-1.260
รูปน้ำยาอิเลคทรอไลด์หนักกว่าน้ำ
จาก ปฏิกิริยาเดิมที่เกิดขึ้นตอนจ่ายไฟ จะเห็นว่าได้น้ำเกิดขึ้นซึ่งเป็นผลให้ ความเข้มข้นของกรดกำมะถันในน้ำยาอิเลคทรอไลด์ลดลง ด้วยเหตุนี้การเข้มข้นของกรดกำมะถันจึงสามารถใช้เป็นตัวชี้สภาพของแบตเตอรี่ ว่าจ่ายไฟไปแล้วมากน้อยเพียงใด การวัดความเข้มข้นของกรดกำมะถันวัดจากความถ่วงจำเพาะ เพราะความถ่วงจำเพาะของกรดกำมะถันในน้ำยาอิเลคทรอไลด์มากกว่าน้ำ เครื่องมือที่ใช้วัด ถ.พ. ของกรดกำมะถันคือ ไฮโดรมิเตอร์
ไฮโดรมิเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดความถ่วงจำเพาะของกรดกำมะถัน ในน้ำยาอิเลคทรอไลด์ ซึ่งประกอบด้วยหลอดแก้วใหญ่อันหนึ่ง ที่ปลายข้างหนึ่งมีหลอดยาวเล็กๆ ประกอบอยู่สำหรับแหย่ลงไปดูดน้ำยาอิเลคทรอไลด์จากแบตเตอรี่ อีกปลายหนึ่งมีลูกยางสวมอยู่ภายในหลอดแก้วใหญ่ มีหลอดแก้วเล็กๆลูกลอยอีกอันหนึ่ง ซึ่งบรรจุถ่วง น.น. ไว้ที่ก้นปลายก้านของหลอดนี้ผนึกแน่น และที่ก้านตอนบนซึ่งเล็กกว่าจะมีขีดพร้อมตัวเลข แสดงความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดที่จะวัด ในการวัดโดยการดูดน้ำยาอิเลคทรอไลด์เข้าไปในหลอดแก้วใหญ่หลอดแก้วเล็กเป็น ลูกลอยจะลอยขึ้น โดยมีส่วนที่จมลงไปในน้ำยาอิเลคทรอไลด์มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอัตราส่วน ของกรดกำมะถัน ที่มีอยู่ในน้ำยาอิเลคทรอไลด์ การอ่านค่าเราอ่านค่าบนสเกนบนตัวลูกลอย จะได้ค่า ถ.พ. ที่ต้องการทราบของแบตเตอรี่อย่างใกล้เคียง
ข้อสำคัญ
-อย่าดูดน้ำยาอิเลคทรอไลด์เข้ามากจนกระทั่งปลายบนของลูกลอยค้ำกับหลอดแก้วใหญ่
-อย่าดูน้ำยาอิเลคทรอไลด์น้อยเกินไปจนกระทั่งลูกลอยคงนั่งอยู่ที่ก้น
-อย่าวัด ถ.พ. หลังจากเติมน้ำกลั่นใหม่ๆ เพราะน้ำกับน้ำกรดยังไม่เข้ากันดีจะทำให้ค่าผิดพลาด
รูปแสดงวิธีการวัด ถ.พ. ของน้ำยาอิเลคทรอไลด์ในแบตเตอรี่
ตารางแสดงผลการวัด ถ.พ.
ความจุ สภาพของหม้อแบตเตอรี่
ต่ำกว่า – 1.200 ควรนำแบตเตอรี่อัดไฟใหม่
1.200 – 1.220 จำนวนไฟในแบตเตอรี่มีน้อยยังใช้การได้
1.240 – 1.260 แบตเตอรี่มีไฟเต็มสภาพสมบูรณ์
เกินกว่า 1.260 ความจุของแบตเตอรี่มากเกินไป